วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เครือข่ายไร้สาย


สาระน่ารู้เกี่ยวกับเครือข่ายไร้สาย

ด้วยความสามารถด้านความปลอดภัย และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้เครือข่ายไร้สายมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

การใช้งานด้านเครือข่ายไร้สาย ได้ขยายตัวออกไปจากแรกที่มีการใช้งานเฉพาะในองค์กรเท่านั้น แต่ปัจจุบันได้มีการนำ ไปใช้งานในหลายภาคอุตสาหกรรม ทั้งหน่วยงานภาครัฐ อุตสาหกรรมการผลิต และด้านการแพทย์ ซึ่งได้นำระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN) มาช่วยเพิ่มขีดความสามารถ และประสิทธิภาพในการทำงาน ด้วยการปลดพันธนาการที่ยึดเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ต้องตั้งอยู่เฉพาะบนโต๊ะทำงาน ให้มีอิสระในการเคลื่อนที่ไปในทุกแห่ง ทำให้ระบบเครือข่ายไร้สาย มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และภายในสิ้นปี 2545 นี้ ก็จะมีอีกหลายองค์กรทั่วโลก ที่จะมีการติดตั้งและใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายนี้

ท่านผู้อ่านคงจะได้พบเห็นข่าวการนำเอาระบบเครือข่ายไร้สายไปติดตั้ง และใช้งานในศูนย์การค้า ร้านกาแฟ สนามบิน และโรงแรม จากสื่อต่างๆ ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แต่เหตุผลที่แท้จริงของการเติบโต และการใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายในองค์กรนั้น ไม่ใช่เป็นเพราะกระแสการใช้งานในที่สาธารณะ หรือจากสื่อต่างๆ แต่เป็นเพราะความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอย่างแท้จริง และขีดความสามารถในด้านความปลอดภัยของข้อมูล ที่ได้มีการพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงความสามารถในการแบ่งกลุ่มผู้ใช้งาน โดยอาศัยความสามารถในการทำ Virtual LAN (VLAN) ของอุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย ตลอดจนความสามารถในการสนับสนุนการส่งผ่านข้อมูล เสียงและวีดีโอซึ่งจะ ต้องมีรองรับด้านคุณภาพในการให้บริการ (Quality of Service, QoS) ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้เครือข่ายไร้สาย สามารถให้บริการแก่เจ้าหน้าที่ และพนักงาน ในการเข้าถึงข้อมูลได้ในทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะรับ-ส่งอีเมล์ ดูข้อมูลจากอินทราเน็ต หรือแม้กระทั่งท่องโลกอินเทอร์เน็ตได้จากทุกหนแห่ง ทั้งในห้องประชุม ห้องสัมมนา โต๊ะทำงานของเพื่อนร่วมงาน หรือจากที่ใดก็ได้ในอีกฟากหนึ่งของโลก

แม้ว่าเครือข่ายไร้สายจะเป็นโซลูชันที่ราคาไม่แพง และง่ายต่อการนำไปใช้ องค์กรหรือบริษัทต่างๆ ควรที่จะมีการวางแผน และเตรียมความพร้อมในการติดตั้ง และนำไปใช้งานในเบื้องต้น อาจจะมองได้ว่าระบบแลนไร้สายนั้น ประกอบด้วยองค์ประกอบสองส่วนนั่นก็คือ สถานีฐานหรือแอสเสสพอยส์ ซึ่งมีการต่อเชื่อมสายสัญญาณไปสู่ระบบเครือข่ายแบบมีสาย และองค์ประกอบที่สองก็คือ การ์ดแลนไร้สายที่จะใช้ต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค หรืออุปกรณ์แบบพกพาอื่นๆ เช่น PDA และPocket PC โดยเจ้าตัวแอสเสสพอยส์ จะใช้คลื่นวิทยุในการส่งสัญญาณจากระบบเครือข่ายที่ต่ออยู่ ไปยังอุปกรณ์ปลายทางที่ใช้การ์ดแลนไร้สาย ซึ่งจะรับสัญญาณคลื่นวิทยุมา และทำการแปลงเป็นข้อมูลที่สื่อสาร กับอุปกรณ์ปลายทางได้ และในทางกลับกันอุปกรณ์ปลายทางก็จะส่งข้อมูลผ่านการ์ดแลนไร้สาย เป็นคลื่นวิทยุกลับไปยังแอสเสสพอยส์ ซึ่งจะทำการส่งต่อสัญญาณเข้าไปในระบบแลน หรือเครือข่ายขององค์กรอีกทีหนึ่ง

หน่วยงานสากลที่ทำหน้าที่ด้านการออกมาตรฐานที่ชื่อว่า The Institute of Electrical and Electronics Engineering หรือ ที่เรารู้จักกันดีว่า IEEE ได้มีการออกมาตรฐานด้านระบบเครือข่ายไร้สายไว้สามแบบด้วยกัน อันได้แก่ 802.11b 802.11a และ 802.11g และอีกหน่วยงานหนึ่งที่ดูแลในด้านมาตรฐานการใช้งานร่วมกันของเครือข่ายไร้สาย ที่มีชื่อว่า Wireless Ethernet Compatability Alliance (WECA) ทีนี้เราลองมาดูในรายละเอียดของมาตรฐานด้านเครือข่ายไร้สาย ทั้งสามแบบที่มีการใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันนี้

802.11b เป็นเวอร์ชั่นที่มีการใช้งานกันแพร่หลายที่สุด และเป็นเวอร์ชั่นที่มีการใช้งานในที่สาธารณะทุกแห่ง และในองค์กรธุรกิจ ตลอดจนการใช้ภายในบ้านพักอาศัยในปัจจุบันนี้ โดยทำงานที่ย่านความถึ่ 2.4 GHz ซึ่งเป็นย่านคลื่นเดียว กันกับโทรศัพท์แบบไร้สายในบ้าน และในเตาไมโครเวฟ ซึ่งสามารถส่งสัญญาณได้ไกลถึงเกือบ 100 เมตร และมีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลที่ 11 เมกะบิตต่อวินาที โดยใกล้เคียงกับความเร็วของมาตรฐานแลนในบริษัททั่วๆ ไปนอกจากนี้ ระบบเครือข่ายแบบ 802.11b นั้นยังมีอีกสามช่องสัญญาณที่เลือกได้ในย่านความถี่นี้ โดยความสำคัญของช่องสัญญาณนี้ จะมีผลในการออกแบบ เพื่อไม่ให้มีการกวนกันของสัญญาณสำหรับเครือข่ายที่มีการทำโรมมิ่ง

802.11a เป็นเวอร์ชั่นที่ออกมาสู่ตลาดหลัง 802.11b โดยทำงานที่ย่านความถึ่ 5 GHz และมีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลมากกว่า 802.11b เกือบห้าเท่าทีเดียว ทั้งนี้ด้วยความจริงที่ว่าความถี่สูง จะมีระยะทางที่สั้นกว่า และจะมีช่องสัญญาณได้มาก ถึงแปดช่องสัญญาณต่อหนึ่งแอสเสสพอยส์ เนื่องจาก 802.11a และ 802.11b ทำงานกันในคนละย่านความถี่และใช้วิธี ในการเข้ารหัสแตกต่างกัน จึงไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ในบ้านเรา และอีกหลายประเทศย่านคลื่น 5 GHz นั้นไม่สามารถนำมาใช้งานได้เราจึงไม่เห็นการใช้งานของ 802.11a สักเท่าไร

802.11g มีการทำงานในย่านคลื่นเดียวกันกับ 802.11b คือที่ 2.4 GHz โดยมีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลมากถึง 54 เมกะบิต ต่อวินาที และที่สำคัญคือ สามารถทำงานร่วมกันกับ 802.11b ได้อีกด้วยด้วย ความสามารถในการส่งสัญญาณได้ไกลเท่ากับ 802.11b แต่มีอัตราเร็วที่สูงกว่าห้าเท่าตัว อย่างไรก็ตามมาตรฐาน 802.11g นี้กำลังอยู่ในการพิจารณาขั้นตอนสุดท้ายของ IEEE และคาดว่าจะแล้วเสร็จในต้นปี 2546 นี้

องค์กรหรือหน่วยงานที่สนใจที่จะนำเอาระบบเครือข่ายไร้สายไปใช้งาน ควรที่จะใช้มาตรฐาน 802.11b ไปก่อน และเมื่อมาตรฐาน 802.11g ได้มีการประกาศใช้งานแล้ว ท่านก็สามารถที่จะอัพเกรดจาก 802.11b มาเป็น 802.11g ได้ทั้งนี้ เนื่องจากว่าทั้งสองมาตรฐานนี้ ใช้ความถี่ย่านคลื่นเดียวกันนั่นเอง หลายต่อหลายบริษัทได้มีการติดตั้งแลนไร้สายไว้ในที่ต่างๆ ภายในสำนักงานทั้งห้องประชุม โรงอาหาร และในพื้นที่ทั่วไป เพื่อให้พนักงานสามารถเข้าถึงระบบเครือข่าย และทำงานได้ในทุกที่ทุกเวลา ในบางกรณีอย่างเช่นการติดตั้งระบบเครือข่ายชั่วคราว หรือในพื้นที่ที่เดินสายได้ยาก ก็ได้มีการนำเครือข่ายไร้สายเข้ามาช่วย ตัวอย่างเช่นในงานนิทรรศการแสดงสินค้า งานประชุมสัมมนา สำนักงานที่อยู่ในอาคารเช่าเป็นรายเดือน และในที่ซึ่งไม่คุ้มต่อค่าแรงงาน และอุปกรณ์ในการติดตั้งระบบเครือข่ายแบบมีสาย

ระบบเครือข่ายไร้สายนี้ ได้มีการใช้งานจริงแล้ว ทั้งในองค์กรขนาดใหญ่อย่างไมโครซอฟท์ ซึ่งได้ติดตั้งแอสเสสพอยส์ ถึง 3,000 ตัวที่สำนักงานใหญ่ในเมืองเรดมอนด์ จนไปถึงองค์กรขนาดเล็กที่มีผู้ใช้เพียง 50-60 คน ทั้งนี้ในบ้านเรานั้น สถาบันการศึกษาต่างๆ ตลอดจนสถานพยาบาล และในคลังเก็บสินค้า ก็ได้มีการติดตั้งระบบบแลนไร้สายนี้ไปแล้วในช่วงปีที่ผ่านมา และภายในต้นปี 2546 เราคงจะได้เห็นการบริการเครือข่ายไร้สายสาธารณะมากยิ่งขึ้นสำหรับในบ้านเรา

แหล่งอ้างอิง : http://www.cisco.com/web/TH/technology/wireless.html

ไม่มีความคิดเห็น: