วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Netware

Netware คืออะไร ???

NetWare เป็นโปรแกรมระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ NOS = Network Operating System ของบริษัท โนเวลล์ อิงค์ ( Novell Inc. ) ซึ่งมักจะเรียกว่า Novell NetWare ซึ่งมีหลาย Version เช่น 2.15 , 3.11 , 3.12 , 4.0 , 4.11 , 4.12 , 5.0 , 6.0 เป็นต้น


โดย Netware มีการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. NetWare Server สำหรับติดตั้งเป็นเครื่องแม่ข่าย โดยคุณสมบัติหลัก คือ เป็น Dedicate Server หมายถึง เป็นเครื่องแม่ข่ายที่ไม่สามารถนำเอา โปรแกรมอื่นใด ประมวลผลบนเครื่องแม่ข่ายได้ โดยเครื่องแม่ข่ายจะทำหน้าที่เป็น File Server ทำหน้าที่ให้บริการเนื้อที่เก็บข้อมูล และ ให้บริการข้อมูลที่เก็บอยู่ในระบบ แก่ลูกข่ายที่ร้องขอ หรือ เรียกใช้ และ มีบริการอื่นที่ตอบสนองต่อการทำงานที่จำเป็น และ ประหยัดทรัพยากรของระบบ เช่น Print Server เป็นต้น และ NetWare Server จะทำงานโดยมี OS เป็นฐานหลักเริ่มต้น ( Jump Start OS ) ก่อนซึ่งคือ DOS โดยขั้นตอนการทำงานคือ เครื่องแม่ข่ายต้องติดตั้ง DOS เป็น Operating System แล้วทำการติดตั้งโปรแกรมแม่ข่ายลงบน DOS อีกครั้งหนึ่ง คล้าย Application ที่ Run บน DOS และเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่าย Boot เสร็จเรียบร้อย ต้องเรียกโปรแกรมเครื่องแม่ข่ายออกมาทำงาน ซึ่งมักเขียนเป็นขั้นตอนอัตโนมัติไว้ใน Batch File พิเศษของ Dos ที่เรียกว่า Autoexec.bat เมื่อโปรแกรมเครื่องแม่ข่ายออกมาทำงาน จะทำการควบคุมอุปกรณ์ หรือ ทรัพยากรของเครื่อง เพื่อตอบสนองต่อการใช้งานให้กับเครื่องลูกข่ายต่อไป


2. NetWare Client สำหรับติดตั้งในเครื่องลูกข่าย ซึ่งมีทั้ง Dos Version และ Windows Version หมายถึง เครื่องลูกข่ายที่ใช้งานจะเป็นเครื่องที่ใช้ DOS หรือ Windows ได้ทั้งสองแบบ ซึ่งทำหน้าที่ต่อเชื่อมเครื่องลูกข่ายเข้ากับเครื่องแม่ข่าย โดยการ Login เข้าสู่ระบบ ( Authentication ) เพื่อที่จะสามารถเรียกใช้ทรัพยากรของระบบเครือข่าย ตามความต้องการต่อไป..


แหล่งอ้างอิง : http://www.expert2you.com/view_question2.php?q_id=3512

วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ระบบเครือข่าย PAN

Personal Area Network (PAN)
เครือข่ายส่วนบุคคล


Personal Area Network (PAN)

PAN คือ "ระบบการติดต่อสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล" ย่อมาจาก Personal Area Network หรือเรียกว่า Bluetooth
Personal Area Network (PAN)
คือเทคโนโลยีการเข้าถึงไร้สายในพื้นที่เฉพาะส่วนบุคคล โดยมีระยะทางไม่เกิน 1
เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480 Mbps) ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้
กันแพร หลาย ก็เช่น
• Ultra Wide Band (UWB) ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.3a
• Bluetooth ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.1
• Zigbee ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.4
เทคโนโลยีเหล่านี้ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง
(peripherals) ให้สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ และยังใช้สำหรับการรับส่งสัญญาณวิดีโอ
ที่มีความละเอียดภาพสูง (high-definition video signal) ได้ด้วย


Personal Area Network (PAN)

ช่วยให้เราสามารถจัดการข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆที่เคลื่อนที่ไปมาได้อย่างหลากหลาย
คิดค้นโดยนักวิจัยของ MIT รวมกับIBM โดยจะสร้างกระแสไฟฟ้าแรงต่ำ (ระดับพิโคแอมป ) ออกไปตามผิวหนังโดยเครื่องรับสัญญาณตามจุดต่างๆ ของร่างกายสามารถรับสัญญาณได้ เทคโนโลยีนี้จะเหมาะกับการใช้งานทางการแพทย์ เพราะอุปกรณ์ โดยมากจะมีการติดตั้งตามลำตัวมนุษย์
พัฒนาโดย Bluetooth Special Interest Group (
www.bluetooth.com) เริ่มก่อตั้งในปี 1998 ด้วยความร่วมมือกันระหว่าง Ericsson, IBM, Intel, Nokia และ Toshiba ซึ่ง Bluetooth (บลูทูธ) การสื่อสารระยะสั้น (Short-range Transmission) ที่ติดต่อสื่อสารแบบดิจิตอล โดยสามารถส่งและติดต่อข้อมูลแบบ Voice และ Data ระหว่างอุปกรณ์ที่เป็นคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือต่างๆ (PC, Laptop, PDA, Mobile phone ฯลฯ) โดยการติดต่อสื่อสารสามารถทำได้ทั้งแบบ point-to-point และ Multi-point


ข้อดี-ข้อเสียของ Personal Area Network (PAN)

ข้อดีคือ
1. สะดวกต่อการใช้งาน
2. สามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
3. มีการรับรองเครือข่าย
4. สามารถนำอุปกรณ์ต่างๆมาใช้ร่วมกันได้
ข้อเสีย คือ
1. สื่อสารได้ไม่เกิน 1 เมตร
2. การส่งข้อมูลอาจเกิดข้อผิดพลาดได้
3. ติดไวรัสได้ง่าย
4. ราคาแพง


ประโยชน์และการนำมาประยุกต์ใช้

จากการที่กลุ่มของเราได้ศึกษาเกี่ยวกับ Personal Area Network (PAN) กลุ่มของเราได้รวบรวมความคิดและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันที่ จะประดิษฐ์ แว่นตาที่สามารถส่งสัญญาณผ่านเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว โดยการประมวลภาพจากสิ่งที่เห็น แล้วแปลงเป็นคลื่นสัญญาณส่งผ่านข้อมูลไปยังเครื่องรับข้อมูลกลาง แล้วเครื่องรับข้อมูลกลางก็จัดส่งข้อมูลไปยังเครื่องรับตัวอื่นๆด้วย
แหล่งอ้างอิง : wiki.nectec.or.th/ngiwiki/pub/Main/GroupProject/Week_1-

วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เครือข่ายไร้สาย


สาระน่ารู้เกี่ยวกับเครือข่ายไร้สาย

ด้วยความสามารถด้านความปลอดภัย และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้เครือข่ายไร้สายมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

การใช้งานด้านเครือข่ายไร้สาย ได้ขยายตัวออกไปจากแรกที่มีการใช้งานเฉพาะในองค์กรเท่านั้น แต่ปัจจุบันได้มีการนำ ไปใช้งานในหลายภาคอุตสาหกรรม ทั้งหน่วยงานภาครัฐ อุตสาหกรรมการผลิต และด้านการแพทย์ ซึ่งได้นำระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN) มาช่วยเพิ่มขีดความสามารถ และประสิทธิภาพในการทำงาน ด้วยการปลดพันธนาการที่ยึดเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ต้องตั้งอยู่เฉพาะบนโต๊ะทำงาน ให้มีอิสระในการเคลื่อนที่ไปในทุกแห่ง ทำให้ระบบเครือข่ายไร้สาย มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และภายในสิ้นปี 2545 นี้ ก็จะมีอีกหลายองค์กรทั่วโลก ที่จะมีการติดตั้งและใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายนี้

ท่านผู้อ่านคงจะได้พบเห็นข่าวการนำเอาระบบเครือข่ายไร้สายไปติดตั้ง และใช้งานในศูนย์การค้า ร้านกาแฟ สนามบิน และโรงแรม จากสื่อต่างๆ ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แต่เหตุผลที่แท้จริงของการเติบโต และการใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายในองค์กรนั้น ไม่ใช่เป็นเพราะกระแสการใช้งานในที่สาธารณะ หรือจากสื่อต่างๆ แต่เป็นเพราะความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอย่างแท้จริง และขีดความสามารถในด้านความปลอดภัยของข้อมูล ที่ได้มีการพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงความสามารถในการแบ่งกลุ่มผู้ใช้งาน โดยอาศัยความสามารถในการทำ Virtual LAN (VLAN) ของอุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย ตลอดจนความสามารถในการสนับสนุนการส่งผ่านข้อมูล เสียงและวีดีโอซึ่งจะ ต้องมีรองรับด้านคุณภาพในการให้บริการ (Quality of Service, QoS) ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้เครือข่ายไร้สาย สามารถให้บริการแก่เจ้าหน้าที่ และพนักงาน ในการเข้าถึงข้อมูลได้ในทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะรับ-ส่งอีเมล์ ดูข้อมูลจากอินทราเน็ต หรือแม้กระทั่งท่องโลกอินเทอร์เน็ตได้จากทุกหนแห่ง ทั้งในห้องประชุม ห้องสัมมนา โต๊ะทำงานของเพื่อนร่วมงาน หรือจากที่ใดก็ได้ในอีกฟากหนึ่งของโลก

แม้ว่าเครือข่ายไร้สายจะเป็นโซลูชันที่ราคาไม่แพง และง่ายต่อการนำไปใช้ องค์กรหรือบริษัทต่างๆ ควรที่จะมีการวางแผน และเตรียมความพร้อมในการติดตั้ง และนำไปใช้งานในเบื้องต้น อาจจะมองได้ว่าระบบแลนไร้สายนั้น ประกอบด้วยองค์ประกอบสองส่วนนั่นก็คือ สถานีฐานหรือแอสเสสพอยส์ ซึ่งมีการต่อเชื่อมสายสัญญาณไปสู่ระบบเครือข่ายแบบมีสาย และองค์ประกอบที่สองก็คือ การ์ดแลนไร้สายที่จะใช้ต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค หรืออุปกรณ์แบบพกพาอื่นๆ เช่น PDA และPocket PC โดยเจ้าตัวแอสเสสพอยส์ จะใช้คลื่นวิทยุในการส่งสัญญาณจากระบบเครือข่ายที่ต่ออยู่ ไปยังอุปกรณ์ปลายทางที่ใช้การ์ดแลนไร้สาย ซึ่งจะรับสัญญาณคลื่นวิทยุมา และทำการแปลงเป็นข้อมูลที่สื่อสาร กับอุปกรณ์ปลายทางได้ และในทางกลับกันอุปกรณ์ปลายทางก็จะส่งข้อมูลผ่านการ์ดแลนไร้สาย เป็นคลื่นวิทยุกลับไปยังแอสเสสพอยส์ ซึ่งจะทำการส่งต่อสัญญาณเข้าไปในระบบแลน หรือเครือข่ายขององค์กรอีกทีหนึ่ง

หน่วยงานสากลที่ทำหน้าที่ด้านการออกมาตรฐานที่ชื่อว่า The Institute of Electrical and Electronics Engineering หรือ ที่เรารู้จักกันดีว่า IEEE ได้มีการออกมาตรฐานด้านระบบเครือข่ายไร้สายไว้สามแบบด้วยกัน อันได้แก่ 802.11b 802.11a และ 802.11g และอีกหน่วยงานหนึ่งที่ดูแลในด้านมาตรฐานการใช้งานร่วมกันของเครือข่ายไร้สาย ที่มีชื่อว่า Wireless Ethernet Compatability Alliance (WECA) ทีนี้เราลองมาดูในรายละเอียดของมาตรฐานด้านเครือข่ายไร้สาย ทั้งสามแบบที่มีการใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันนี้

802.11b เป็นเวอร์ชั่นที่มีการใช้งานกันแพร่หลายที่สุด และเป็นเวอร์ชั่นที่มีการใช้งานในที่สาธารณะทุกแห่ง และในองค์กรธุรกิจ ตลอดจนการใช้ภายในบ้านพักอาศัยในปัจจุบันนี้ โดยทำงานที่ย่านความถึ่ 2.4 GHz ซึ่งเป็นย่านคลื่นเดียว กันกับโทรศัพท์แบบไร้สายในบ้าน และในเตาไมโครเวฟ ซึ่งสามารถส่งสัญญาณได้ไกลถึงเกือบ 100 เมตร และมีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลที่ 11 เมกะบิตต่อวินาที โดยใกล้เคียงกับความเร็วของมาตรฐานแลนในบริษัททั่วๆ ไปนอกจากนี้ ระบบเครือข่ายแบบ 802.11b นั้นยังมีอีกสามช่องสัญญาณที่เลือกได้ในย่านความถี่นี้ โดยความสำคัญของช่องสัญญาณนี้ จะมีผลในการออกแบบ เพื่อไม่ให้มีการกวนกันของสัญญาณสำหรับเครือข่ายที่มีการทำโรมมิ่ง

802.11a เป็นเวอร์ชั่นที่ออกมาสู่ตลาดหลัง 802.11b โดยทำงานที่ย่านความถึ่ 5 GHz และมีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลมากกว่า 802.11b เกือบห้าเท่าทีเดียว ทั้งนี้ด้วยความจริงที่ว่าความถี่สูง จะมีระยะทางที่สั้นกว่า และจะมีช่องสัญญาณได้มาก ถึงแปดช่องสัญญาณต่อหนึ่งแอสเสสพอยส์ เนื่องจาก 802.11a และ 802.11b ทำงานกันในคนละย่านความถี่และใช้วิธี ในการเข้ารหัสแตกต่างกัน จึงไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ในบ้านเรา และอีกหลายประเทศย่านคลื่น 5 GHz นั้นไม่สามารถนำมาใช้งานได้เราจึงไม่เห็นการใช้งานของ 802.11a สักเท่าไร

802.11g มีการทำงานในย่านคลื่นเดียวกันกับ 802.11b คือที่ 2.4 GHz โดยมีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลมากถึง 54 เมกะบิต ต่อวินาที และที่สำคัญคือ สามารถทำงานร่วมกันกับ 802.11b ได้อีกด้วยด้วย ความสามารถในการส่งสัญญาณได้ไกลเท่ากับ 802.11b แต่มีอัตราเร็วที่สูงกว่าห้าเท่าตัว อย่างไรก็ตามมาตรฐาน 802.11g นี้กำลังอยู่ในการพิจารณาขั้นตอนสุดท้ายของ IEEE และคาดว่าจะแล้วเสร็จในต้นปี 2546 นี้

องค์กรหรือหน่วยงานที่สนใจที่จะนำเอาระบบเครือข่ายไร้สายไปใช้งาน ควรที่จะใช้มาตรฐาน 802.11b ไปก่อน และเมื่อมาตรฐาน 802.11g ได้มีการประกาศใช้งานแล้ว ท่านก็สามารถที่จะอัพเกรดจาก 802.11b มาเป็น 802.11g ได้ทั้งนี้ เนื่องจากว่าทั้งสองมาตรฐานนี้ ใช้ความถี่ย่านคลื่นเดียวกันนั่นเอง หลายต่อหลายบริษัทได้มีการติดตั้งแลนไร้สายไว้ในที่ต่างๆ ภายในสำนักงานทั้งห้องประชุม โรงอาหาร และในพื้นที่ทั่วไป เพื่อให้พนักงานสามารถเข้าถึงระบบเครือข่าย และทำงานได้ในทุกที่ทุกเวลา ในบางกรณีอย่างเช่นการติดตั้งระบบเครือข่ายชั่วคราว หรือในพื้นที่ที่เดินสายได้ยาก ก็ได้มีการนำเครือข่ายไร้สายเข้ามาช่วย ตัวอย่างเช่นในงานนิทรรศการแสดงสินค้า งานประชุมสัมมนา สำนักงานที่อยู่ในอาคารเช่าเป็นรายเดือน และในที่ซึ่งไม่คุ้มต่อค่าแรงงาน และอุปกรณ์ในการติดตั้งระบบเครือข่ายแบบมีสาย

ระบบเครือข่ายไร้สายนี้ ได้มีการใช้งานจริงแล้ว ทั้งในองค์กรขนาดใหญ่อย่างไมโครซอฟท์ ซึ่งได้ติดตั้งแอสเสสพอยส์ ถึง 3,000 ตัวที่สำนักงานใหญ่ในเมืองเรดมอนด์ จนไปถึงองค์กรขนาดเล็กที่มีผู้ใช้เพียง 50-60 คน ทั้งนี้ในบ้านเรานั้น สถาบันการศึกษาต่างๆ ตลอดจนสถานพยาบาล และในคลังเก็บสินค้า ก็ได้มีการติดตั้งระบบบแลนไร้สายนี้ไปแล้วในช่วงปีที่ผ่านมา และภายในต้นปี 2546 เราคงจะได้เห็นการบริการเครือข่ายไร้สายสาธารณะมากยิ่งขึ้นสำหรับในบ้านเรา

แหล่งอ้างอิง : http://www.cisco.com/web/TH/technology/wireless.html