วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

FireWall

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ Firewall


Firewall คืออะไร Firewall นั้นหากจะแปลตรงตัวจะแปลว่ากำแพงไฟ แต่ที่จริงแล้ว firewall นั้นเป็นกำแพงที่มีไว้เพื่อป้องกันไฟโดยที่ตัวมันเองนั้นไม่ใช่ไฟตามดังคำแปล firewall ในสิ่งปลูกสร้างต่างๆนั้นจะทำด้วยอิฐเพื่อแยกส่วนต่างๆของสิ่งปลูกสร้างออกจากกันเพื่อที่ว่าในเวลาไฟไหม้ไฟจะได้ไม่ลามไปทั่วสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ หรือ Firewall ในรถยนต์ก็จะเป็นแผ่นโลหะใช้แยกส่วนของเครื่องยนต์และส่วนของที่นั่งของผู้โดยสารออกจากกันในเครือข่าย Internet นั้น firewall อาจถูกใช้สำหรับป้องกันไม่ให้ "ไฟ" จากเครือข่าย Internet ภายนอกลามเข้ามาภายในเครือข่าย LAN ส่วนตัวของท่านได้ หรืออาจถูกใช้เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ใน LAN ของท่านออกไปโดน "ไฟ" ในเครือข่าย Internet ภายนอกได้ตามคำจำกัดความแล้ว firewall หมายความถึง ระบบหนึ่งหรือกลุ่มของระบบที่บังคับใช้นโยบายการควบคุมการเข้าถึงของระหว่างเครือข่ายสองเครือข่าย โดยที่วิธีการกระทำนั้นก็จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ระบบ แต่โดยหลักการแล้วเราสามารถมอง firewall ได้ว่าประกอบด้วยกลไกสองส่วนโดยส่วนแรกมีหน้าที่ในการกั้น traffic และส่วนที่สองมีหน้าที่ในการปล่อย traffic ให้ผ่านไปได้



ประเภทของ Firewall Firewall โดยทั่วไปจะถูกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ firewall ระดับ network (network level firewall) และ firewall ระดับ application (application level firewall)ก่อนที่ firewall ระดับ network จะตัดสินใจยอมให้ traffic ใดผ่านนั้นจะดูที่ address ผู้ส่งและผู้รับ และ port ในแต่ละ IP packet เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า traffic สามารถผ่านไปได้ก็จะ route traffic ผ่านตัวมันไปโดยตรง router โดยทั่วไปแล้วก็จะถือว่าเป็น firewall ระดับ network ชนิดหนึ่ง firewall ประเภทนี้จะมีความเร็วสูงและจะ transparent ต่อผู้ใช้ (คือผู้ใช้มองไม่เห็นความแตกต่างระหว่างระบบที่ไม่มี firewall กับระบบที่มี firewall ระดับ network อยู่) การที่จะใช้ firewall ประเภทนี้โดยมากผู้ใช้จะต้องมี IP block (ของจริง) ของตนเองFirewall ระดับ application นั้นโดยทั่วไปก็คือ host ที่ run proxy server อยู่ firewall ประเภทนี้สามารถให้รายงานการ audit ได้อย่างละเอียดและสามารถบังคับใช้นโยบายความปลอดภัยได้มากกว่า firewall ระดับ network แต่ firewall ประเภทนี้ก็จะมีความ transparent น้อยกว่า firewall ระดับ network โดยที่ผู้ใช้จะต้องตั้งเครื่องของตนให้ใช้กับ firewall ประเภทนี้ได้ นอกจากนี้ firewall ประเภทนี้จะมีความเร็วน้อยกว่า firewall ระดับ networkบางแหล่งจะกล่าวถึง firewall ประเภทที่สามคือประเภท stateful inspection filtering ซึ่งใช้การพิจารณาเนื้อหาของ packets ก่อนๆในการที่จะตัดสินใจให้ packet ที่กำลังพิจารณาอยู่เข้ามา


ขีดความสามารถของ Firewall ขีดความสามารถของ firewall ทั่วๆไปนั้นมีดังต่อไปนี้- ป้องกันการ login ที่ไม่ได้รับอนุญาตที่มาจากภายนอกเครือข่าย- ปิดกั้นไม่ให้ traffic จากนอกเครือข่ายเข้ามาภายในเครือข่ายแต่ก็ยอมให้ผู้ที่อยู่ภายในเครือข่ายสามารถติดต่อกับโลกภายนอกได้- เป็นจุดรวมสำหรับการรักษาความปลอดภัยและการทำ audit (เปรียบเสมือนจุดรับแรงกระแทกหรือ "choke" ของเครือข่าย)


ข้อจำกัดของ firewall ข้อจำกัดของ firewall มีดังต่อไปนี้- firewall ไม่สามารถป้องกันการโจมตีที่ไม่ได้กระทำผ่าน firewall (เช่น การโจมตีจากภายในเครือข่ายเอง)- ไม่สามารถป้องกันการโจมตีที่เข้ามากับ application protocols ต่างๆ (เรียกว่าการ tunneling) หรือกับโปรแกรม client ที่มีความล่อแหลมและถูกดัดแปลงให้กระทำการโจมตีได้ (โปรแกรมที่ถูกทำให้เป็น Trojan horse)- ไม่สามารถป้องกัน virus ได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากจำนวน virus มีอยู่มากมาย จึงจะเป็นการยากมากที่ firewall จะสามารถตรวจจับ pattern ของ virus ทั้งหมดได้ถึงแม้ว่า firewall จะเป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ป้องกันการโจมตีจากภายนอกเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ การที่จะใช้ firewall ให้ได้ประโยชน์สูงสุดนั้นจะขึ้นอยู่กับนโยบายความปลอดภัยโดยรวมขององค์กรด้วย นอกจากนี้ แม้แต่ firewall ที่ดีที่สุดก็ไม่สามารถนำมาใช้แทนการมีจิตสำนึกในการที่จะรักษาความปลอดภัยภายในเครือข่ายของผู้ที่อยู่ในเครือข่ายนั้นเอง


แหล่งอ้างอิง : http://thaicert.nectec.or.th/paper/firewall/firewall.php

WHAT IS WIFI ?

ในปี 2003 เป็นต้นไปเทคโนโลยีที่คาดว่าจะมาแรงแบบสุดๆตอย่างหนึ่งก็คือ WiFi ซึ่งคำถามแรกของผู้ที่ได้ยินคำนี้ก็ต้องถามเป็นเสียงเดียวกันว่าแล้ว WiFi มันคืออะไรกันนะ? รู้จักแต่คำว่าไวไฟ ที่เขียนท้ายรถบรรทุกน้ำมัน


จากอดีต ก่อนที่เราจะมาพูดถึงว่า Wi-Fi มันคืออะไรนั้น เราลองมาทำความเข้าใจกันเล็กๆน้อยเกี่ยวกับเรื่องระบบ Network สักนิดนะครับ การที่ คอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องจะมาเชื่อมต่อกัน เพื่อประโยชน์ในการแชร์ ข้อมูลซึ่งกันและกันหรือเอามาแชร์ Internet เพื่อใช้งาน แบบประมาณว่า ต่อ Internet เพียงแค่เครื่องเดียว เครื่องอื่นๆที่อยู่ในเครือข่ายก็สามารถใช้งาน Internet ได้ด้วย ซึ่งการต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องเข้าด้วยกันนี้ แต่เดิมนั้นเราจะใช้สาย Lan ต่อเข้ากับ Lan card ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเพื่อจะเชื่อมเข้าหา ซึ่งการต่อแบบใช้สายนี้มันมีค่าใช้จ่ายไม่แพงมาก แต่จะยุ่งยากหน่อยก็ตรงที่ในบ้านเรา หรือใน office ที่เราจะเชื่อมต่อนั้น จะต้องเรียกช่างมาเดินสาย Lan เหมือนกับเดินสายไฟภายในบ้าน ซึ่งมันก็วุ่นมากทีเดียวหากเป็นบ้านที่มีคนอยู่แล้ว ต้องมานั่งรื้อข้าวของให้วุ่นวายกันไปหมด



ถึงปัจจุบัน เหมือนกับว่าพระเจ้าเห็นใจผู้รักเทคโนโลยี จึงทำให้มีผู้คิดค้นวิธีเชื่อมต่อ Lan แบบใหม่ขึ้นมาโดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงสายให้มันวุ่นวาย แต่คราวนี้เราจะใช้คลื่นเชื่อมแทนครับ ฟังแค่นี้ก็ดูน่าสนใจขึ้นมาแล้วใช่ไหมครับด้วยระบบเทคโนโลยี Lan ไร้สาย 802.11 จึงเกิดขึ้นมาบนโลกเบี๊ยวๆใบนี้ โดยการพัฒนาจากสถาบันวิศวกรไฟฟ้า และ อิเลคโทรนิค หรือ Institute of Electrical and Electronics Engineering (IEEE) นั่นเอง เลยทำให้กลายเป็นศัพท์ใหม่ที่เห็นกันบ่อยๆว่า IEEE 802.11 ซึ่งก็ได้มีการพัฒนากันมาเรื่อยจาก 802.11 ธรรมดามาเป็น 802.11b 802.11a 802.11g ซึ่งมันจะต่างกันเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลเป็นหลัก


Wi-Fi คืออะไร Wi-Fi ก็คือองค์กรหนึ่ง ที่ทดสอบผลิตภัณฑ์ Wireless Lan หรือระบบ Network แบบไร้สาย ภายใต้เทคโนโลยีการสื่อสาร ภายใต้มาตราฐาน IEEE 802.11 ว่าอุปกรณ์ทุกตัวซึ่งต่างยี่ห้อกันนั้นมันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่มีปัญหา หากว่าอุปกรณ์ตัวนั้นมันผ่านตามมาตราฐานเขาก็จะปั๊ม ตรา WIFI certified ซึ่งเป็นอันรู้กันว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นสามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ตัวอื่นที่มีตรา WIFI certified นี้ได้เช่นกัน แต่ทำไปทำมามันกลายเป็นคำศัพท์สำหรับ อุปกรณ์ Lan ไร้สาย ไปโดยปริยาย จนบางคนก็เรียกกันติดปาก เช่น Notebook ตัวนี้ หรือ PDA ตัวนี้มันมี WiFi ด้วยหละ! นั่นก็หมายความว่า อุปกรณ์ชิ้นนั้นมันสามารถติดต่อสื่อสารกับเครื่องตัวอื่นในระบบ Network แบบไร้สายได้ โดยอยู่ภายใต้มาตราฐานเทคโนโลยี 802.11


แล้วเลข 802.11 มันคืออะไร ซึ่งผมเชื่อว่ามันต้องเป็นคำถามต่อมาอย่างแน่นอน สำหรับเลข 802.11 นั้นก็เป็น เทคโนโลยีมาตราฐานแบบเปิดซึ่งกำหนดโดย Institute of Electrical and Electronics Engineering (IEEE) โดยเลขหลักตัวหน้ามันจะเหมือนๆกัน แต่ความแตกต่างของเทคโนโลยีจะกำหนดด้วยตัวอักษรด้านหลัง เช่น 802.11b 802.11a 802.11g



แล้ว WiFi กับ Bluetooth มันเหมือนกันไหม? ผมขอบอกว่า 2 อย่างนี้มันคล้ายๆกันครับ ถึงแม้ว่า Bluetooth กับ Wi-Fi มันจะเป็นการติดต่อเพื่อสร้างระบบ Network เล็กๆโดยการเชื่อมโยงอุปกรณ์ตั้งแต่สองตัวเข้าหากัน แต่การใช้งานของ Bluetooth กับ Wi-Fi นั้นมันต่างกันมากครับถึงว่า เทคโนโลยีของ Wi-Fi กับ Bluetooth มันจะใช้ความถี่คลื่นเดียวกันที่ 2.4 GHz และ Bluetooth กับ Wi-Fi มันก็ไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้


Bluetooth เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์สองตัวเข้าหากันด้วยความถี่คลื่นที่ 2.4 GHz ซึ่งมีระยะการทำงานที่สั้นมากคือได้ประมาณ 30 ฟุตเป็นอย่างมากในที่โล่ง จุดประสงค์ที่เขาสร้าง Bluetooth ขึ้นมาก็เพื่อมาแทนที่สายไฟที่ระเกะระกะ ในการเชื่อมโยงอุปกรณ์สองตัวเข้าหากัน เช่น Palm กับ โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์มือถือ กับ Small talk ข้อจำกัดของ Bluetooth นอกจากเรื่องของระยะทางที่สั้น แล้วเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลก็ยังต่ำกว่า Wi-Fi อีกด้วย หากเอามาใช้งานการส่งข้อมูลไม่มาก เช่น เอามาใช้ Hotsync กับเครื่อง Palm หรือ Beam file จากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่อง เท่านี้คงจะไม่รู้สึกเท่าไร แต่หากจะเอา PC สองตัวมาทำระบบ Network โดยใช้ Bluetooth หละก็จะเห็นถึงความอืดอย่างชัดเจน อย่างที่ผมเคยทดสอบมา โอนไฟล์จาก PC เครื่องหนึ่งไปยัง อีกเครื่องหนึ่ง รอกันเบื่อกันไปข้างเลยครับ สรุปง่ายๆก็คือว่า Bluetooth เหมาะสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ Device เล็กเข้ากัน ด้วยระยะทางเพียงสั้นๆ เพื่อสร้าง Network แบบกระจุ๋มกระจิ๋มส่วนตัว ที่ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า PAN ( Personal area network )


Wi-Fi เป็นการสื่อสารด้วยเทคโนโลยี 802.11 ซึ่งมีข้อดีก็คือมันสามารถส่งข้อมูลแบบไร้สายได้รวดเร็ว ดังนั้นมันจึงเหมาะที่จะนำมาสร้างเครือข่ายไร้สายสำหรับการเชื่อมคอมพิวเตอร์เข้าหากัน หรืออาจจะเอา PDA มาเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ก็ยังได้หาก PDA รุ่นนั้นๆมัน สนับสนุน Wi-Fi ข้อดีอีกหลายข้อของ เทคโนโลยี 802.11 ก็พอจะเล่าให้ฟังคร่าวดังต่อไปนี้ครับ การทำงานสามารถสื่อสารได้ไกลกว่าการใช้ Bluetooth ,เป็นที่นิยมมากกว่า และมันคือระบบที่มีการทำงานคล้ายกับระบบ Network แบบมีสายมากที่สุด โดยเฉพาะ เทคโนโลยี 802.11b ซึ่งมีความเร็ว 11 Mb/s อันนี้จะนิยมมากที่สุด แต่ในอนาคตก็คงจะมีการพัฒนาให้มันส่งข้อมูลได้เร็วมากขึ้นไปอีก


สร้างเครือข่ายส่วนตัวใช้เองดีกว่า ( Wi-Fi ในบ้าน ) แนะนำกันไปยืดยาวจนคอแห้งแล้วนะครับว่า Wireless Lan ที่มักเรียกกันติดปากว่า Wi-Fi มันคืออะไร สมัยนี้เรื่องการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์เขากำลังเป็นที่นิยม เพราะเขาเชื่อกันว่าในบ้านสมัยนี้เขามักจะมีคอมพิวเตอร์มากกว่า 1 เครื่องดังนั้นเราก็น่าจะเอาคอมพิวเตอร์ในบ้านทั้งหมด มาต่อเชื่อมกันเพื่อแชร์ทรัพยากรร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น อินเตอร์เน็ตหรือ Printer จะได้ช่วยกันประหยัด หรือเอาแบบ เท่ห์ๆหน่อยก็ ส่ง msn หรือ email ไปเรียก คุณพ่อ หรือคุณ แม่ที่อยู่ชั้นสองให้ลงมาทานข้าวพร้อมกัน ก็ยังได้ หรือหากบ้านไหนอยู่กันเยอะๆก็อาจจะมาเล่นเกมส์ร่วมกันบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ได้ แต่ยุคนี้หากจะสร้างเครือข่ายกันในบ้าน หากยังใช้แบบมีสายอยู่ก็อาจจะดูไม่ค่อยจะสะดวกเท่าไรนัก เพราะต้องเรียกช่างมาเดินสายภายในบ้าน หากเป็นบ้านที่อยู่แล้วก็ยิ่งลำบากใหญ่ ดังนั้นหากเราใช้ Wi-Fi ก็จะทำให้การสร้างเครือข่ายนั้นง่ายขึ้นครับ คล่องตัวมากทีเดียว เราอาจจะเอา Notebook ไปนั่งเล่น อินเตอร์เน็ต กลางสวนหลังบ้านก็ยังได้ สำหรับงบประมาณการสร้างเครือข่ายไร้สายแบบ Wi-Fi นี้ก็จะตกอยู่ที่ประมาณ 6500-9000 บาทครับ อุปกรณ์ที่จำเป็นก็มี Access Point 1 ตัว + USB wireless lan card อีกสัก 2 ตัว


Hot spot คืออะไร? ( Wi-Fi นอกบ้าน ) ผมเชื่อว่าหมู่นี้เรามักจะได้ยินคำว่า Hot spot มากขึ้น แล้วเจ้า Hot spot มันมาเกี่ยวโยงอะไรกับ Wi-Fi ได้ไง เดี๋ยวเรามาดูกันครับ ผมขอเกริ่นเล็กๆน้อยๆกันก่อนว่า ในยุคสมัยนี้การที่เราจะเล่น อินเตอร์เน็ตขณะอยู่นอกบ้านนั้นเราสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ

1. ไปหา Internet Cafe' อันนี้เป็นวิธีที่ประหยัดที่สุด ค่าใช้จ่ายตกประมาณชั่วโมงละ 30-50 บาทโดยเฉลี่ย แต่มีข้อดีที่ว่าสะดวกง่ายดาย อยากใช้เมื่อไรวิ่งหาร้านจ่ายสตางค์แล้วลุยกันได้เลย แต่ข้อเสียก็มีครับ คือเราไม่สามารถใช้ข้อมูลส่วนตัวที่เราทำงานบนเครื่อง PC ที่บ้านได้ ถึงจะทำได้ก็ค่อนข้างวุ่นวายมากทีเดียว หากลืมไฟล์ไว้ที่ PC ที่บ้านก็จบกัน ส่วนมากจะใช้หาข้อมูลจาก www , เช็ค email หรือ chat เสียมากกว่า และเรื่องของความปลอดภัยในข้อมูลที่เรากรอกไว้ที่เครื่อง PC ในร้านก็ค่อนข้างเสี่ยง และความเร็วของ อินเตอร์เน็ตในแต่ละร้านก็ค่อนข้างจะเอาแน่เอานอนไม่ได้เสียด้วย

2. ใช้ GPRS โดยนำ Notebook หรือ PDA ต่อ อินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือผ่านระบบ GPRS วิธีนี้ดูเหมือนจะ เดิ้ล มากพอสมควร แบบสามารถใช้งานได้ทุกที่ที่มีคลื่นโทรศัพท์ เรื่องของค่าใช้จ่ายก็จะคิดตามปริมาณข้อมูลรับส่ง หากเป็นการใช้งานบนเครื่อง PDA อาจจะไม่ค่อยรู้สึกเท่าไร แต่หากเป็น Notebook อาจจะค่อนข้างเปลืองมากกว่า แต่ก็นับว่าโชคดีที่สมัยนี้ยังมี GPRS แบบไม่จำกัดปริมาณการใช้งานอยู่เลยทำให้ผู้ที่ได้รับโปรโมชั่นนี้อาจจะไม่ค่อยรู้สึกเท่าไรนัก แต่เรื่องของความเร็วของ GPRS นั้นยังมี speed ที่ประมาณ 40 Kbps

3.Hotspot เป็นบริการ อินเตอร์เน็ตสาธารณะไร้สายความเร็วสูง ด้วยเทคโนโลยีของ Wireless Lan หรือที่เรียกกันติดปากว่า Wi-Fi ซึ่งในปัจจุบันก็มีให้บริการกันมากขึ้นเรื่อยตามแหล่งชุมชน ต่างๆ เช่น สนามบิน ร้านอาหาร โรงแรม โรงพยาบาล การใช้บริการ Hotspot นี้ อาจจะต้องลงทุนสูงสักนิด เพราะสองสิ่งหลักที่เราต้องมีก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook หรือ PDA และ Wireless Lan card ( ราคาประมาณ 1500-2000 บาท ) แต่หาก Notebook หรือ PDA บางรุ่นมี Wi-Fi ในตัวก็สบายไปหน่อยไม่ต้องไปหาซื้ออุปกรณ์เพิ่ม ข้อดีของการใช้ Wi-Fi ก็คือ สถานที่ที่บริการ อินเตอร์เน็ตสาธาณะที่เรียกกันว่า Hot Spot นี้เขามักจะบริการด้วย อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง แบบเปิดเว็บปุ๊ปมาปั๊ป ค่อนข้างทันใจ และเราสามารถยก office ไปนั้งทำงานตามร้านกาแฟได้อย่างสบายๆ เพราะข้อมูลงานต่างๆของเรานั้นก็เก็บไว้ใน Notebook ของเราอยู่แล้ว แบบประมาณว่าจัดประชุมนัดลูกค้ามาคุยกันนอกสถานที่เลยก็ได้ แต่ Hot Spot ในบ้านเรานั้นเรียกว่ายังใหม่ กิ๊ก อยู่เลยครับ ทำให้อัตราค่าบริการยังค่อนข้างสูงมากทีเดียว แต่บางที่ก็บริการฟรีนะครับ จุดให้บริการก็เริ่มทยอยเปิดกันเรื่อยๆ แต่เรื่อง Hotspot นี้ในบ้านเรานับว่าเป็นสิ่งที่ใหม่มากพอสมควร การใช้งานอาจจะยังขัดๆเขินกันบ้างเล็กน้อย แต่สำหรับในต่างประเทศนั้นมันเป็นสิ่งที่ฮิตมากทีเดียว หากเป็นรางวัลก็ต้องขอมอบรางวัลแบบ ออสการ์ให้ไปเลย เพราะว่ามันเป็นที่นิยมอย่างไม่น่าเชื่อ
แหล่งอ้างอิง : http://www.mrpalm.com/wifi/what.php

วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Netware

Netware คืออะไร ???

NetWare เป็นโปรแกรมระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ NOS = Network Operating System ของบริษัท โนเวลล์ อิงค์ ( Novell Inc. ) ซึ่งมักจะเรียกว่า Novell NetWare ซึ่งมีหลาย Version เช่น 2.15 , 3.11 , 3.12 , 4.0 , 4.11 , 4.12 , 5.0 , 6.0 เป็นต้น


โดย Netware มีการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. NetWare Server สำหรับติดตั้งเป็นเครื่องแม่ข่าย โดยคุณสมบัติหลัก คือ เป็น Dedicate Server หมายถึง เป็นเครื่องแม่ข่ายที่ไม่สามารถนำเอา โปรแกรมอื่นใด ประมวลผลบนเครื่องแม่ข่ายได้ โดยเครื่องแม่ข่ายจะทำหน้าที่เป็น File Server ทำหน้าที่ให้บริการเนื้อที่เก็บข้อมูล และ ให้บริการข้อมูลที่เก็บอยู่ในระบบ แก่ลูกข่ายที่ร้องขอ หรือ เรียกใช้ และ มีบริการอื่นที่ตอบสนองต่อการทำงานที่จำเป็น และ ประหยัดทรัพยากรของระบบ เช่น Print Server เป็นต้น และ NetWare Server จะทำงานโดยมี OS เป็นฐานหลักเริ่มต้น ( Jump Start OS ) ก่อนซึ่งคือ DOS โดยขั้นตอนการทำงานคือ เครื่องแม่ข่ายต้องติดตั้ง DOS เป็น Operating System แล้วทำการติดตั้งโปรแกรมแม่ข่ายลงบน DOS อีกครั้งหนึ่ง คล้าย Application ที่ Run บน DOS และเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่าย Boot เสร็จเรียบร้อย ต้องเรียกโปรแกรมเครื่องแม่ข่ายออกมาทำงาน ซึ่งมักเขียนเป็นขั้นตอนอัตโนมัติไว้ใน Batch File พิเศษของ Dos ที่เรียกว่า Autoexec.bat เมื่อโปรแกรมเครื่องแม่ข่ายออกมาทำงาน จะทำการควบคุมอุปกรณ์ หรือ ทรัพยากรของเครื่อง เพื่อตอบสนองต่อการใช้งานให้กับเครื่องลูกข่ายต่อไป


2. NetWare Client สำหรับติดตั้งในเครื่องลูกข่าย ซึ่งมีทั้ง Dos Version และ Windows Version หมายถึง เครื่องลูกข่ายที่ใช้งานจะเป็นเครื่องที่ใช้ DOS หรือ Windows ได้ทั้งสองแบบ ซึ่งทำหน้าที่ต่อเชื่อมเครื่องลูกข่ายเข้ากับเครื่องแม่ข่าย โดยการ Login เข้าสู่ระบบ ( Authentication ) เพื่อที่จะสามารถเรียกใช้ทรัพยากรของระบบเครือข่าย ตามความต้องการต่อไป..


แหล่งอ้างอิง : http://www.expert2you.com/view_question2.php?q_id=3512

วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ระบบเครือข่าย PAN

Personal Area Network (PAN)
เครือข่ายส่วนบุคคล


Personal Area Network (PAN)

PAN คือ "ระบบการติดต่อสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล" ย่อมาจาก Personal Area Network หรือเรียกว่า Bluetooth
Personal Area Network (PAN)
คือเทคโนโลยีการเข้าถึงไร้สายในพื้นที่เฉพาะส่วนบุคคล โดยมีระยะทางไม่เกิน 1
เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480 Mbps) ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้
กันแพร หลาย ก็เช่น
• Ultra Wide Band (UWB) ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.3a
• Bluetooth ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.1
• Zigbee ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.4
เทคโนโลยีเหล่านี้ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง
(peripherals) ให้สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ และยังใช้สำหรับการรับส่งสัญญาณวิดีโอ
ที่มีความละเอียดภาพสูง (high-definition video signal) ได้ด้วย


Personal Area Network (PAN)

ช่วยให้เราสามารถจัดการข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆที่เคลื่อนที่ไปมาได้อย่างหลากหลาย
คิดค้นโดยนักวิจัยของ MIT รวมกับIBM โดยจะสร้างกระแสไฟฟ้าแรงต่ำ (ระดับพิโคแอมป ) ออกไปตามผิวหนังโดยเครื่องรับสัญญาณตามจุดต่างๆ ของร่างกายสามารถรับสัญญาณได้ เทคโนโลยีนี้จะเหมาะกับการใช้งานทางการแพทย์ เพราะอุปกรณ์ โดยมากจะมีการติดตั้งตามลำตัวมนุษย์
พัฒนาโดย Bluetooth Special Interest Group (
www.bluetooth.com) เริ่มก่อตั้งในปี 1998 ด้วยความร่วมมือกันระหว่าง Ericsson, IBM, Intel, Nokia และ Toshiba ซึ่ง Bluetooth (บลูทูธ) การสื่อสารระยะสั้น (Short-range Transmission) ที่ติดต่อสื่อสารแบบดิจิตอล โดยสามารถส่งและติดต่อข้อมูลแบบ Voice และ Data ระหว่างอุปกรณ์ที่เป็นคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือต่างๆ (PC, Laptop, PDA, Mobile phone ฯลฯ) โดยการติดต่อสื่อสารสามารถทำได้ทั้งแบบ point-to-point และ Multi-point


ข้อดี-ข้อเสียของ Personal Area Network (PAN)

ข้อดีคือ
1. สะดวกต่อการใช้งาน
2. สามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
3. มีการรับรองเครือข่าย
4. สามารถนำอุปกรณ์ต่างๆมาใช้ร่วมกันได้
ข้อเสีย คือ
1. สื่อสารได้ไม่เกิน 1 เมตร
2. การส่งข้อมูลอาจเกิดข้อผิดพลาดได้
3. ติดไวรัสได้ง่าย
4. ราคาแพง


ประโยชน์และการนำมาประยุกต์ใช้

จากการที่กลุ่มของเราได้ศึกษาเกี่ยวกับ Personal Area Network (PAN) กลุ่มของเราได้รวบรวมความคิดและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันที่ จะประดิษฐ์ แว่นตาที่สามารถส่งสัญญาณผ่านเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว โดยการประมวลภาพจากสิ่งที่เห็น แล้วแปลงเป็นคลื่นสัญญาณส่งผ่านข้อมูลไปยังเครื่องรับข้อมูลกลาง แล้วเครื่องรับข้อมูลกลางก็จัดส่งข้อมูลไปยังเครื่องรับตัวอื่นๆด้วย
แหล่งอ้างอิง : wiki.nectec.or.th/ngiwiki/pub/Main/GroupProject/Week_1-

วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เครือข่ายไร้สาย


สาระน่ารู้เกี่ยวกับเครือข่ายไร้สาย

ด้วยความสามารถด้านความปลอดภัย และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้เครือข่ายไร้สายมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

การใช้งานด้านเครือข่ายไร้สาย ได้ขยายตัวออกไปจากแรกที่มีการใช้งานเฉพาะในองค์กรเท่านั้น แต่ปัจจุบันได้มีการนำ ไปใช้งานในหลายภาคอุตสาหกรรม ทั้งหน่วยงานภาครัฐ อุตสาหกรรมการผลิต และด้านการแพทย์ ซึ่งได้นำระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN) มาช่วยเพิ่มขีดความสามารถ และประสิทธิภาพในการทำงาน ด้วยการปลดพันธนาการที่ยึดเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ต้องตั้งอยู่เฉพาะบนโต๊ะทำงาน ให้มีอิสระในการเคลื่อนที่ไปในทุกแห่ง ทำให้ระบบเครือข่ายไร้สาย มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และภายในสิ้นปี 2545 นี้ ก็จะมีอีกหลายองค์กรทั่วโลก ที่จะมีการติดตั้งและใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายนี้

ท่านผู้อ่านคงจะได้พบเห็นข่าวการนำเอาระบบเครือข่ายไร้สายไปติดตั้ง และใช้งานในศูนย์การค้า ร้านกาแฟ สนามบิน และโรงแรม จากสื่อต่างๆ ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แต่เหตุผลที่แท้จริงของการเติบโต และการใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายในองค์กรนั้น ไม่ใช่เป็นเพราะกระแสการใช้งานในที่สาธารณะ หรือจากสื่อต่างๆ แต่เป็นเพราะความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอย่างแท้จริง และขีดความสามารถในด้านความปลอดภัยของข้อมูล ที่ได้มีการพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงความสามารถในการแบ่งกลุ่มผู้ใช้งาน โดยอาศัยความสามารถในการทำ Virtual LAN (VLAN) ของอุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย ตลอดจนความสามารถในการสนับสนุนการส่งผ่านข้อมูล เสียงและวีดีโอซึ่งจะ ต้องมีรองรับด้านคุณภาพในการให้บริการ (Quality of Service, QoS) ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้เครือข่ายไร้สาย สามารถให้บริการแก่เจ้าหน้าที่ และพนักงาน ในการเข้าถึงข้อมูลได้ในทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะรับ-ส่งอีเมล์ ดูข้อมูลจากอินทราเน็ต หรือแม้กระทั่งท่องโลกอินเทอร์เน็ตได้จากทุกหนแห่ง ทั้งในห้องประชุม ห้องสัมมนา โต๊ะทำงานของเพื่อนร่วมงาน หรือจากที่ใดก็ได้ในอีกฟากหนึ่งของโลก

แม้ว่าเครือข่ายไร้สายจะเป็นโซลูชันที่ราคาไม่แพง และง่ายต่อการนำไปใช้ องค์กรหรือบริษัทต่างๆ ควรที่จะมีการวางแผน และเตรียมความพร้อมในการติดตั้ง และนำไปใช้งานในเบื้องต้น อาจจะมองได้ว่าระบบแลนไร้สายนั้น ประกอบด้วยองค์ประกอบสองส่วนนั่นก็คือ สถานีฐานหรือแอสเสสพอยส์ ซึ่งมีการต่อเชื่อมสายสัญญาณไปสู่ระบบเครือข่ายแบบมีสาย และองค์ประกอบที่สองก็คือ การ์ดแลนไร้สายที่จะใช้ต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค หรืออุปกรณ์แบบพกพาอื่นๆ เช่น PDA และPocket PC โดยเจ้าตัวแอสเสสพอยส์ จะใช้คลื่นวิทยุในการส่งสัญญาณจากระบบเครือข่ายที่ต่ออยู่ ไปยังอุปกรณ์ปลายทางที่ใช้การ์ดแลนไร้สาย ซึ่งจะรับสัญญาณคลื่นวิทยุมา และทำการแปลงเป็นข้อมูลที่สื่อสาร กับอุปกรณ์ปลายทางได้ และในทางกลับกันอุปกรณ์ปลายทางก็จะส่งข้อมูลผ่านการ์ดแลนไร้สาย เป็นคลื่นวิทยุกลับไปยังแอสเสสพอยส์ ซึ่งจะทำการส่งต่อสัญญาณเข้าไปในระบบแลน หรือเครือข่ายขององค์กรอีกทีหนึ่ง

หน่วยงานสากลที่ทำหน้าที่ด้านการออกมาตรฐานที่ชื่อว่า The Institute of Electrical and Electronics Engineering หรือ ที่เรารู้จักกันดีว่า IEEE ได้มีการออกมาตรฐานด้านระบบเครือข่ายไร้สายไว้สามแบบด้วยกัน อันได้แก่ 802.11b 802.11a และ 802.11g และอีกหน่วยงานหนึ่งที่ดูแลในด้านมาตรฐานการใช้งานร่วมกันของเครือข่ายไร้สาย ที่มีชื่อว่า Wireless Ethernet Compatability Alliance (WECA) ทีนี้เราลองมาดูในรายละเอียดของมาตรฐานด้านเครือข่ายไร้สาย ทั้งสามแบบที่มีการใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันนี้

802.11b เป็นเวอร์ชั่นที่มีการใช้งานกันแพร่หลายที่สุด และเป็นเวอร์ชั่นที่มีการใช้งานในที่สาธารณะทุกแห่ง และในองค์กรธุรกิจ ตลอดจนการใช้ภายในบ้านพักอาศัยในปัจจุบันนี้ โดยทำงานที่ย่านความถึ่ 2.4 GHz ซึ่งเป็นย่านคลื่นเดียว กันกับโทรศัพท์แบบไร้สายในบ้าน และในเตาไมโครเวฟ ซึ่งสามารถส่งสัญญาณได้ไกลถึงเกือบ 100 เมตร และมีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลที่ 11 เมกะบิตต่อวินาที โดยใกล้เคียงกับความเร็วของมาตรฐานแลนในบริษัททั่วๆ ไปนอกจากนี้ ระบบเครือข่ายแบบ 802.11b นั้นยังมีอีกสามช่องสัญญาณที่เลือกได้ในย่านความถี่นี้ โดยความสำคัญของช่องสัญญาณนี้ จะมีผลในการออกแบบ เพื่อไม่ให้มีการกวนกันของสัญญาณสำหรับเครือข่ายที่มีการทำโรมมิ่ง

802.11a เป็นเวอร์ชั่นที่ออกมาสู่ตลาดหลัง 802.11b โดยทำงานที่ย่านความถึ่ 5 GHz และมีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลมากกว่า 802.11b เกือบห้าเท่าทีเดียว ทั้งนี้ด้วยความจริงที่ว่าความถี่สูง จะมีระยะทางที่สั้นกว่า และจะมีช่องสัญญาณได้มาก ถึงแปดช่องสัญญาณต่อหนึ่งแอสเสสพอยส์ เนื่องจาก 802.11a และ 802.11b ทำงานกันในคนละย่านความถี่และใช้วิธี ในการเข้ารหัสแตกต่างกัน จึงไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ในบ้านเรา และอีกหลายประเทศย่านคลื่น 5 GHz นั้นไม่สามารถนำมาใช้งานได้เราจึงไม่เห็นการใช้งานของ 802.11a สักเท่าไร

802.11g มีการทำงานในย่านคลื่นเดียวกันกับ 802.11b คือที่ 2.4 GHz โดยมีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลมากถึง 54 เมกะบิต ต่อวินาที และที่สำคัญคือ สามารถทำงานร่วมกันกับ 802.11b ได้อีกด้วยด้วย ความสามารถในการส่งสัญญาณได้ไกลเท่ากับ 802.11b แต่มีอัตราเร็วที่สูงกว่าห้าเท่าตัว อย่างไรก็ตามมาตรฐาน 802.11g นี้กำลังอยู่ในการพิจารณาขั้นตอนสุดท้ายของ IEEE และคาดว่าจะแล้วเสร็จในต้นปี 2546 นี้

องค์กรหรือหน่วยงานที่สนใจที่จะนำเอาระบบเครือข่ายไร้สายไปใช้งาน ควรที่จะใช้มาตรฐาน 802.11b ไปก่อน และเมื่อมาตรฐาน 802.11g ได้มีการประกาศใช้งานแล้ว ท่านก็สามารถที่จะอัพเกรดจาก 802.11b มาเป็น 802.11g ได้ทั้งนี้ เนื่องจากว่าทั้งสองมาตรฐานนี้ ใช้ความถี่ย่านคลื่นเดียวกันนั่นเอง หลายต่อหลายบริษัทได้มีการติดตั้งแลนไร้สายไว้ในที่ต่างๆ ภายในสำนักงานทั้งห้องประชุม โรงอาหาร และในพื้นที่ทั่วไป เพื่อให้พนักงานสามารถเข้าถึงระบบเครือข่าย และทำงานได้ในทุกที่ทุกเวลา ในบางกรณีอย่างเช่นการติดตั้งระบบเครือข่ายชั่วคราว หรือในพื้นที่ที่เดินสายได้ยาก ก็ได้มีการนำเครือข่ายไร้สายเข้ามาช่วย ตัวอย่างเช่นในงานนิทรรศการแสดงสินค้า งานประชุมสัมมนา สำนักงานที่อยู่ในอาคารเช่าเป็นรายเดือน และในที่ซึ่งไม่คุ้มต่อค่าแรงงาน และอุปกรณ์ในการติดตั้งระบบเครือข่ายแบบมีสาย

ระบบเครือข่ายไร้สายนี้ ได้มีการใช้งานจริงแล้ว ทั้งในองค์กรขนาดใหญ่อย่างไมโครซอฟท์ ซึ่งได้ติดตั้งแอสเสสพอยส์ ถึง 3,000 ตัวที่สำนักงานใหญ่ในเมืองเรดมอนด์ จนไปถึงองค์กรขนาดเล็กที่มีผู้ใช้เพียง 50-60 คน ทั้งนี้ในบ้านเรานั้น สถาบันการศึกษาต่างๆ ตลอดจนสถานพยาบาล และในคลังเก็บสินค้า ก็ได้มีการติดตั้งระบบบแลนไร้สายนี้ไปแล้วในช่วงปีที่ผ่านมา และภายในต้นปี 2546 เราคงจะได้เห็นการบริการเครือข่ายไร้สายสาธารณะมากยิ่งขึ้นสำหรับในบ้านเรา

แหล่งอ้างอิง : http://www.cisco.com/web/TH/technology/wireless.html